วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรม 8 - 12 พ.ย. 2553



ข้อ 1
ไรโบโซม (Ribosome มาจาก ribonucleic acid และคำใน"ภาษากรีก: soma (หมายถึงร่างกาย) เป็นออร์แกแนลล์ที่ประกอบด้วยโปรตีนและ rRNA มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 20 nm (200 อังสตรอม) และประกอบด้วย ribosomal RNA 65% และ ไรโบโซมอล โปรตีน35% (หรือ ไรโบนิวคลีโอโปรตีน หรือ RNP)เป็นสารเชิงซ้อนของ RNA และ โปรตีน ที่พบใน เซลล์ทุกชนิด ไรโบโซมจาก แบคทีเรีย, อาร์เคีย และ ยูคาริโอตมีโครงสร้างและ RNA ที่แตกต่างกัน ไรโบโซมในไมโตคอนเดรียของเซลล์ยูคาริโอตมีลักษณะคล้ายกับไรโบโซมของแบคทีเรีย ซึ่งเป็นการบอกถึงวิวัฒนาการของออร์แกแนลล์ชนิดนี้ ในแบคทีเรียมี 2 หน่วยย่อย คือ ขนาด 30S และ 50S ซึ่งจะรวมกันเป็นไรโบโซมขนาด 70S ส่วนในยูคาริโอต มี 2 หน่วยย่อย คือ ขนาด 40S และ 60S ซึ่งจะรวมกันเป็นไรโบโซมขนาด 80S หน้าที่คือเป็นแหล่งที่เกิดการอ่านรหัสจากยีนในนิวเคลียส ซึ่งถูกส่งออกจากนิวเคลียสในรูป mRNA มาสร้างเป็นโปรตีน
การทำงานของไรโบโซมในการแสดงออกของยีนไปสู่การสร้างโปรตีนเรียกทรานสเลชัน ไรโบโซมยังทำหน้าที่ในการต่อกรดอะมิโนเดี่ยวให้เป็นโพลีเปบไทด์ โดยต้องมีการจับกับ mRNA และอ่านข้อมูลจาก mRNA เพื่อกำหนดลำดับของกรดอะมิโนให้ถูกต้อง การนำโมเลกุลของกรดอะมิโนเข้ามาเป็นการทำงานของ tRNA ซึ่งจับอยู่กับโมเลกุลของกรดอะมิโนอยู่ก่อนแล้ว
ไมโทคอนเดรีย (อังกฤษ: mitochondrion หรือรูปพหูพจน์ mitochondria) ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ ถูกค้นพบครั้งแรกโดย คอลลิกเกอร์ ส่วนใหญ่มีรูปร่างกลมท่อนสั้น คล้ายไส้กรอก ยาว 5-7 ไมครอน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2-1 ไมครอน ประกอบไปด้วยโปรตีน 60-65% ลิพิด 35-40% มีเยื่อหุ้มสองชั้น (double unit membrane) ชั้นนอกเรียบหนา 60-80 อังสตรอม เยื่อชั้นในพับเข้าไปเป็นรอยหยักเรียก คริสตี (cristae) หนา 60-80 อังสตรอม ภายในบรรจุของเหลวประกอบไปด้วยสารหลายชนิดเรียก แมทริกซ์ (matrix) ความเชื่อที่ว่า"ในมนุษย์มีไมโทคอนเดรียมากที่สุดที่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ" เป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง เซลล์ที่มีไมโทคอนเดรียมากนั้น จะเป็นเซลล์ที่ต้องสร้างและใช้พลังงานสูง เซลล์ที่มีไมโทคอนเดรียมากคือ เซลล์ตับ ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีเมแทบอลิซึมสูงและกิจกรรมจำนวนมาก ภายในไมโทรคอนเดรียยังมี DNA รวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็น DNA ที่มาจากแม่โดยตรง ส่วน DNA ที่อยู่ในนิวเคลียสนั้น จะเป็นที่ DNA ที่รวมจากพ่อและแม่
ภายในไมโทคอนเดรียสามารถพบ DNA ได้เช่นเดียวกับในนิวเคลียสและคลอโรพลาสต์ โดยเรียกว่า mtDNA
มีการสันนิษฐานว่าไมโทคอนเดรียนั้นมีวิวัฒนาการร่วมกันกับเซลล์ยูคาริโอตมานานแล้ว โดยเริ่มแรกนั้นเซลล์สิ่งมีชีวิตชั้นสูงอาจไปกินเซลล์ที่มีขนาดเล็กกว่าเข้าไป
ในเซลล์มนุษย์ DNAภายในไมโทคอนเดรียมีลักษณะเป็นวงกลม โดยมียีนที่สร้างโปรตีนได้เพียงไม่กี่สิบยีนเท่านั้น
เอนโดไซโทซิส (endocytosis) เป็นการลำเลียงสารตรงกันข้ามกับเอกโซไซโทซิส กล่าวคือ เป็นการลำเลียงสารขนาดใหญ่เข้าสู่เซลล์ แบ่งออกเปน 3 วิธี คือ
- ฟาโกไซโทซิส (phagocytosis) เป็นการลำเลียงสารเข้าสู่เซลล์ที่พบได้ในเซลล์จำพวกอะมีบาและเซลล์เม็ดเลือด ขาว โดยเซลล์สามารถยื่นไซโทพลาซึมออกมาล้อมอนุภาคของสารที่มีขนาดใหญ่ที่เป็นของ แข็ง ก่อนที่จะนำเข้าสู่เซลล์ในรูปของเวสิเคิล เรียกอีกอย่างว่า การกินของเซลล์ (cell eating)
- พิโนไซโทซิส (pincocytosis)เป็นการนำอนุภาคของสารที่อยู่ในรูปของสารละลายเข้าสู่เซลล์ โดยการทำให้เยื่อหุ้มเซลล์เว้าเข้าไปในไซโทพลาซึมทีละน้อย จนกลายเป็นถุงเล็กๆ เมื่อเยื่อหุ้มเซลล์ปิดสนิทถงนี้จะหลุดเข้าไปกลายเป็นเวสิเคิลอยู่ในไซโทพลา ซึม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การดื่มของเซลล์ (cell drinking) การนำสารเข้าสู่เซลล์โดยอาศัยตัวรับ (receptor-mediated endocytosis) เป็นการลำเลียงสารเข้าสู่เซลล์ ที่เกิดขึ้นโดยมีโปรตีนตัวรับบนเยื่อหุ้มเซลล์ สารที่ถูกลำเลียงเข้าสู่เซลล์ด้วยวิธีนี้
จะต้องมีความจำเพาะในการจับกับโปรตีนตัวรับ ที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์จึงจะสามารถนำเข้าสู่เซลล์ได้ หลังจากนั้น เยื่อหุ้มเซลล์จึงเว้าเป็นเวสิเคิลหลุดเข้าสู่ภายในเซลล์



อธิบายข้อสอบ 2. 1. ไตขับปัสสาวะมากกว่าปรกติ จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ดื่มน้ำมาก รับยาขับปัสสาวะเนื่องจากเป็นโรคหัวใจหรือความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ส่งผลให้ปัสสาวะที่มากักเก็บในกระเพาะปัสสาวะเต็มเร็ว จึงปัสสาวะบ่อยกว่าปรกติ (มากกว่า 5 ครั้ง ต่อวัน) และอาจต้องตื่นมาปัสสาวะหลังเข้านอนแล้วประมาณไม่เกิน 2 ครั้ง ที่สำคัญผู้ป่วยจะมีปริมาณปัสสาวะแต่ละครั้งเท่าคนปกติ (ประมาณ 350-500 ซี.ซี.) เมื่อตรวจปัสสาวะจะไม่พบการติดเชื้อ ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุข้างต้น
2. มีความผิดปรกติที่กระเพาะปัสสาวะ ไม่สามารถกักเก็บปัสสาวะได้นาน ปวดปัสสาวะเร็ว บางคนอาจปัสสาวะทุก 1 หรือ 2 ชั่วโมง ที่สำคัญคือปวดปัสสาวะหลังนอนหลับแล้วตอนดึกก่อนถึงเช้าทุกคืน ๆ มากกว่า 2 ครั้ง ครั้งละน้อยกว่าปกติ (ไม่ถึง 300 ซี.ซี.) เกิดจาก
2.1 กระเพาะปัสสาวะอักเสบ พบมากในผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว (อายุ 30-40 ปี) เนื่องจากมีการอักเสบในช่องคลอดบ่อย ๆ มีตกขาวมากกว่าปกติ ทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้ากระเพาะปัสสาวะง่ายเพราะหลอดปัสสาวะผู้หญิงสั้นกว่า ผู้ชาย อาจพบมีรูเปิดหลอดปัสสาวะตีบแคบด้วยในบางคน ทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งมีอาการปัสสาวะบ่อย ครั้งวลพน้อย ๆ อาจเจ็บเสียวบริเวณปลายหลอดปัสสาวะ/บริเวณท้องน้อย หรือมีอาการปัสสาวะไม่สุด ต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะพร้อมรักษาอาการตกขาวในช่องคลอด หรือขยายรูเปิดหลอดปัสสาวะด้วยจึงจะหายขาด
2.2 กระเพาะปัสสาวะเล็ก ขยายตัวไม่ได้ เนื่องจากถูกฉายแสงรักษามะเร็งของปากมดลูก เป็นวัณโรคกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ผนังกระเพาะปัสสาวะชั้นกล้ามเนื้อขยายเพื่อเก็บปัสสาวะมากไม่ได้ หรือมีเนื้องอกขนาดใหญ่ในมดลูก หรือหญิงตั้งครรภ์มากกว่า 6 เดือน มดลูกจะกดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เก็บปัสสาวะได้ไม่มาก จึงทำให้ปัสสาวะบ่อย
2.3 มีสิ่งแปลกปลอมในกระเพาะปัสสาวะ เช่น ก้อนนิ่ว เนื้องอกขนาดใหญ่ อาจทำให้ปัสสาวะบ่อย แต่พบน้อยมากในผู้หญิง
3 มีความผิดปรกติทางจิตใจ เช่น ภาวะเครียดจากงาน กลัวโรคภัยไข้เจ็บ มีปัญหาครอบครัว ผู้ป่วยส่วนมากมักจะปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางวันหรือหัวค่ำ เมื่อหลับแล้วจะไม่ตื่นมาปัสสาวะอีก เนื่องจากไม่มีความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ
4 ประสาทควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะมีความผิดปรกติ ทำให้ผนังกล้ามเนื้อทำงาน บีบตัวบ่อย จำเป็นต้องตรวจการทำงานของกระเพาะปัสสาวะด้วยเครื่องตรวจพิเศษ เพื่อตรวจการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ



















































อธิบายข้อสอบ 3.
คนหมู่เลือด A+A = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,O
คนหมู่เลือด B+B = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B,O
คนหมู่เลือด AB+AB = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B (ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด O+O = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด O เท่านั้น
คนหมู่เลือด A+B = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด เป็นได้ทุกกรุ๊ป
คนหมู่เลือด A+AB = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด B+AB = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด AB+O = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด ได้ A หรือ B
คนหมู่เลือด A+O = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ O
คนหมู่เลือด B+O = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B หรือ O
คนหมู่เลือด A+B = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A.,B,AB,O
















































































































































































อธิบายข้อสอบ 4.
โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย(Thalassemia)
คือ โรคซีดชนิดหนึ่งที่เป็นกันในครอบครัวหรือที่เรียกว่า โรคกรรมพันธุ์มีการสร้างสาร ฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นสารสีแดงในเม็ดเลือดแดง ลดน้อยลง เม็ดเลือดแดงมีลักษณะผิดปกติและแตกง่าย ก่อให้เกิดอาการซีด เลือดจางเรื้อรัง และมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ผู้ที่เป็นโรคนี้ ได้รับยีนที่ควบคุมการสร้างเม็ดเลือดแดงผิดปกติมาจากทั้งพ่อและแม่
ยีน คือ หน่วยพันธุกรรมที่กำหนดลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต พืช สัตว์ มนุษย์ เช่น ในมนุษย์กำหนดสี และลักษณะของ ผิว ตา และผมความสูง ความฉลาด หมู่เลือด ชนิดของฮีโมโกลบิน รวมทั้งโรคบางอย่าง เป็นต้น ยีนที่ควบคุมกำหนดลักษณะต่างๆ ในร่างกายจะเป็นคู่ ข้างหนึ่งได้รับถ่ายทอดมาจากพ่อ อีกข้างหนึ่งได้รับมาจากแม่ สำหรับผู้มียีนธาลัสซีเมีย(Thalassemia)













































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น